ศิลปะแห่งการชง..."หงส์" ในถ้วย "กาแฟ" ด้วยความที่เป็นคนชอบดื่มกาแฟเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว "ติ๊ก" อมร บุญเนาว์ เลยคิดอยากทำให้คนอื่นได้ชิมรสชาติที่ตัวเองเป็นคนชงด้วย เลยมาสมัครที่บริษัท เอสแอนด์พี (S&P)
เพื่อเป็น "บาริสต้า" หรือพนักงานชงกาแฟ ชงอยู่นานและเข้าประกวดเวทีบาริสต้าจนได้รางวัลมาหลายเวที ล่าสุดโชว์ฝีมือชงกาแฟ "ลาเต้ อาร์ท" เป็นรูปตัวหงส์ คว้ารางวัลชนะเลิศ ไทยแลนด์ บาริต้า แชมเปี้ยน (Thailand Barista Champion) 2008 และได้เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปแข่งขันชงกาแฟที่ต่างประเทศอีกด้วย
"สำหรับคนที่อยากเป็น ถ้ามีเครื่องอยู่แล้ว ก็ให้หมั่นฝึกฝน ลองทำไปเรื่อยๆ อาจลองทำรูปหัวใจก่อน เพราะง่ายสุด แต่ที่เป็นรูปหงส์นี่ยาก แต่ก็พยายามฝึกซ้อมจนเป็นรูปขึ้นมาได้" แชมป์บาริสต้าบอกเคล็ดลับ
ที่มา หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก
http://www.healthcorners.com/2007/coffee_web/Read.php?id=86
เดลิเมล์ – นักวิจัยแนะดื่มกาแฟวันละถ้วยช่วยปกป้องสมองจากอันตรายของคลอเรสเตอรอลที่เกี่ยวพันกับโรคอัลไซเมอร์
ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษาโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้น หากรู้วิธีชะลอหรือระงับก่อนที่โรคจะก่อตัวขึ้นจึงน่าจะเป็นเรื่องที่ดี
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทดาโกตา สหรัฐฯ ได้ศึกษาผลของคาเฟอีนที่มีต่อบริเวณทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมอง (blood-brain barrier - BBB) หรือกลไกธรรมชาติที่ช่วยป้องกันสารอันตรายไม่ให้เล็ดลอดเข้าสู่สมอง
ผลศึกษาก่อนหน้านี้หลายฉบับบ่งชี้ว่า ระดับคลอเรสเตอรอลสูงที่อยู่ในอาหารอุดมไขมัน ทำให้ทำนบนี้เกิดการรั่วซึม เซลล์สมองจึงถูกทำลายซึ่งเป็นสภาพของโรคอัลไซเมอร์
ในการศึกษาล่าสุด นักวิจัยให้กระต่ายในห้องทดลองกินอาหารอคลอเรสเตอรอลสูง และคาเฟอีน 3 กรัมต่อวัน หรือเท่ากับกาแฟวันละถ้วยสำหรับคนปกติ
หลังจาก 12 สัปดาห์ การทำการทดสอบซ้ำหลายครั้งพบว่า บริเวณทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมองของกระต่ายที่ได้รับคาเฟอีนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ศาสตราจารย์โจนาธาน ไกเกอร์ หนึ่งในผู้เขียนรายงานฉบับนี้ กล่าวว่าดูเหมือนคาเฟอีนจะไปช่วยสกัดผลร้ายหลายอย่างจากคลอเรสเตอรอลที่ทำให้บริเวณทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมองรั่ว
“นี่เป็นครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่า การกินกาแฟเป็นประจำช่วยปกป้องทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมองจากการเจาะทะลวงของคลอเรสเตอรอล”
รายงานในวารสารนิวโรอินฟลามเมชัน ยังระบุว่ามีแนวโน้มที่คาเฟอีนจะช่วยรักษาระดับโปรตีน ซึ่งทำให้บริเวณทำนบกั้นระหว่างกระแสโลหิตและเซลล์สมองแข็งแรง
งานศึกษานี้ตอกย้ำงานศึกษาชิ้นก่อนๆ ที่แสดงให้เห็นว่า คาเฟอีนช่วยปกป้องความจำของผู้สูงวัย เท่ากับว่าสารชนิดนี้มีส่วนสำคัญในการบำบัดความผิดปกติของระบบประสาท
ด้านมูลนิธิอัลไซเมอร์ส โซไซตี้กล่าวว่า รายงานล่าสุดของนอร์ทดาโกตาช่วยอธิบายว่า เหตุใดงานวิจัยในอดีตจึงแสดงให้เห็นว่าการดื่มกาแฟช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมได้
ผู้อำนวยการแผนกวิจัยของมูลนิธิฯ ดร.ซูซาน ซอเรนเซน เสริมว่าจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อดูว่า กาแฟมีผลแบบเดียวกันนี้กับคนหรือไม่
นอกจากจะมีประโยชน์ในการปกป้องความจำแล้ว ก่อนหน้านี้ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า คาเฟอีนช่วยลดความเสี่ยงของโรคหอบหืด และปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ
คอกาแฟยังมีความเสี่ยงน้อยลงในการเป็นมะเร็งบางชนิด รวมถึงโรคพาร์คินสัน และเบาหวานประเภท
ที่มา หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ
เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา กาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนถูกโจมตีว่า ทำให้เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิต เป็นหมัน
ทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์แท้งได้หรือทารกน้ำหนักน้อย เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ ซีสต์ในเต้านม และกระดูกพรุน
แต่ข้อมูลการวิจัยในปัจจุบันเปิดเผยว่า การดื่มกาแฟเพียงวันละ 1-2 ถ้วยนั้นปลอดภัย และอาจให้ผลดี ถ้าดื่มให้เป็น
มีรายงานผลการวิจัยจากฟินแลนด์และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระบุว่า คนที่ดื่มกาแฟมีความเสี่ยงการเกิดเบาหวาน
ประเภท 2 น้อยกว่าคนที่ไม่ดื่ม ความเสี่ยงที่ลดลงเป็นสัดส่วนกับปริมาณกาแฟที่ดื่ม และกาแฟไร้คาเฟอีนให้ผลน้อยกว่า ส่วนชาไร้คาเฟอีนและเครื่องดื่มอื่นๆที่มีคาเฟอีนไม่ให้ผลเหมือนกาแฟ
นอกจากนี้กาแฟยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคพาร์คินสันลดอันตรายต่อตับ
ในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคตับ ลดอาการหอบในผู้ที่มีโรคหอบหืด เพิ่มความจำและสำหรับนักกีฬาเพิ่มความทน
และความอึดในกีฬาที่ต้องใช้เวลานาน
สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเพราะต้องการแก้ง่วง แนะนำให้ดื่มปริมาณน้อยๆ แต่กระจายการดื่มออกไปตลอดวัน
เช่น แทนที่จะดื่มถ้วยใหญ่ 16 ออนซ์ (500 มล.) ในตอนเช้า ให้ดื่มเพียงครั้งละ 2 - 3 ออนซ์ (60 - 90 มล.)
แต่บ่อยขึ้น กาแฟจะเริ่มออกฤทธิ์ใน 15 นาทีและจะอยู่ในร่างกายนานหลายชั่วโมง และต้องใช้เวลาถึง 6 ชั่วโมง
กว่าที่จะถูกขจัดออกจากร่างกาย
ของดีในกาแฟ
เมล็ดกาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาเขียวถึง 4 เท่า และยังมากกว่าโกโก้ ชาสมุนไพร
และไวน์แดงอีก ที่มากกว่าเพราะผู้บริโภคดื่มกาแฟมากกว่าเครื่องดื่มอื่นๆ แต่สารต้านอนุมูลอิสระ
ในกาแฟแต่ละถ้วยและแต่ละยี่ห้อนั้นก็ไม่เท่ากันขึ้นกับชนิดของกาแฟ
กาแฟพันธุ์โรบัสต้า (Robusta) มีสารต้านอนุมูลอิสระและคาเฟอีนมากกว่าพันธ์อราบิก้า (Arabicas) ถึง 2 เท่า ซึ่งเป็นผลมาจาก
วิธีการคั่วกาแฟ และปริมาณกาแฟที่ละลายแต่ละถ้วย รวมทั้งยังขึ้นอยู่กับวิธีการชงกาแฟ ระยะเวลาและปริมาณกาแฟที่ใช้ด้วย
ข้อควรระวังในกาแฟ
คอกาแฟอย่าเพิ่งย่ามใจกับข้อมูลด้านดีๆ เพราะองค์ประกอบหลักของกาแฟคือสารคาเฟอีน
ซึ่งเป็นสารกระตุ้น จึงมีผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจพอสมควร โดยทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
เพิ่มความดันโลหิต และทำให้หัวใจเต้นผิดปกติในบางครั้ง งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยโทรอนโทเปิดเผยว่า การดื่มกาแฟมากอาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันในผู้ที่มียีนขจัดคาเฟอีนช้า ทำให้
คาเฟอีนอยู่ในกระแสเลือดนานขึ้น แต่สำหรับคนที่มียีนปกติที่ขจัดคาเฟอีนได้เร็วกาแฟก็จะไม่มีผล
ส่วนผลของกาแฟต่อสุขภาพผู้หญิงก็ยังไม่มีผลวิจัยชัดเจน ว่าจะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ซีสต์ในเต้านม
หรือกระดูกพรุนหรือไม่ การเดินสายกลางจึงดีที่สุด ผู้ที่ดื่มกาแฟสกัดคาเฟอีน อาจคิดว่าปลอดภัย แต่นักวิจัยเตือนว่า กาแฟสกัดคาเฟอีนอาจเพิ่มระดับกรดไขมันในเลือดให้สร้างแอลดีแอล ซึ่งเป็นคอเลสเทอรอลตัวร้ายได้ เพราะในกระบวนการสกัดคาเฟอีนจะสกัดเอาสารเฟลโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารอื่นๆ ที่ให้รสชาติกาแฟแท้ๆ ออกไปด้วย นอกจากจะอร่อยน้อยลงแล้วยังมีผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : อสมท.
เรื่อง มนทิพย์ ร่าเริงวิจิตร นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลกรุงเทพ
Coffee break for health
คุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบกลิ่นหอมกรุ่นและรสชาติขมอร่อยของกาแฟหรือไม่...
กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่แพร่หลายมากรองจากชา เป็นเครื่องดื่มที่พบได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งในที่ทำงาน สถานที่ท่องเที่ยว หรือแม้แต่ในระหว่างการเดินทางที่ต่างๆ ของโลก ในเมืองไทยเราก็มีร้านกาแฟในกรุงเทพและต่างจังหวัดจำนวนไม่น้อย มีตั้งแต่กาแฟไทยโบราณไปจนถึงกาแฟนำเข้าจากต่างประเทศ
กาแฟกับหัวใจ
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2005 รายงานว่า หลอดเลือดของผู้ที่ดื่มกาแฟมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และในงานวิจัยฉบับนี้ยังได้แนะนำให้ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหรือมีความเสี่ยงอื่นต่อการเกิดโรคหัวใจ (ไขมันในเลือดสูง อ้วน เบาหวาน สูบบุหรี่ และไม่ออกกำลังกาย) ที่ดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 3 แก้ว ให้ลดปริมาณการดื่มลง
ในขณะที่งานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2006 รายงานว่า การดื่มกาแฟไม่ทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น แม้จะดื่มมากกว่าวันละ 6 แก้ว
ส่วนงานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนสิงหาคมปี 2006 รายงานว่า กาแฟอาจก่อให้เกิดอาการหัวใจพิบัติ (Heart attack) ได้ภายใน 1 ชั่วโมงหลังการดื่ม โดยพบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 - 3 แก้ว มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจพิบัติถึงร้อยละ 60
ส่วนผู้ที่ดื่มกาแฟน้อยกว่าวันละ 2 – 3 แก้วหรือดื่มเป็นครั้งคราว จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจพิบัติหลังการดื่มกาแฟเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่า ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องจากผู้ที่ไม่ได้ดื่มกาแฟเป็นประจำ ร่างกายอาจไม่ชินกับสภาวะที่หัวใจเต้นเร็วขึ้น และความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราวจากการได้รับสารคาเฟอีน จึงทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจพิบัติสูงกว่า
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป การดื่มกาแฟอาจเป็นเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้เกิดอาการหัวใจพิบัติได้มากขึ้นกว่า 2 เท่า ในขณะที่การศึกษาในหญิงวัยหมดประจำเดือนพบว่า อัตราการตายจากโรคหัวใจของผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 1 – 3 แก้ว น้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟถึงร้อยละ 24 แม้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับกาแฟและสุขภาพหัวใจยังมีความขัดแย้งกันอยู่ แต่สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาก็แนะนำเสริมว่า การดื่มกาแฟพอประมาณ(วันละ 1 – 2 แก้ว) ไม่น่าจะทำให้เกิดอันตราย
กาแฟกับเบาหวาน
การวิเคราะห์ข้อมูลจาก 8 งานวิจัยในปี 2005 ได้ข้อสรุปว่า ผู้ใหญ่ที่ดื่มกาแฟวันละ 6 – 7 แก้ว มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานลดลง 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับผู้ที่ดื่มวันละ 2 แก้ว และจากการศึกษาล่าสุดเมื่อปีที่แล้วพบว่า ผู้หญิงที่ดื่มกาแฟวันละ 2 – 3 แก้ว มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานลดลงร้อยละ 13 ในขณะที่ผู้ที่ดื่มตั้งแต่วันละ 4 แก้วขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานลดลงมากกว่าร้อยละ 40 ซึ่งการค้นพบนี้เป็นที่ประหลาดใจของทีมนักวิจัย
เนื่องจากในการศึกษาเฉพาะสารสกัดคาเฟอีนพบว่า มีผลในการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลและลดการเผาผลาญน้ำตาล คาเฟอีนจึงน่าจะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานเพิ่มขึ้นมากกว่า ดังนั้นผลในการป้องกันเบาหวานน่าจะมาจากสารอื่นที่อยู่ในกาแฟ แต่อย่างไรก็ตามนักวิจัยยังไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการดื่มกาแฟเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน แต่แนะนำให้ป้องกันโรคนี้ด้วยการบริโภคธัญพืชที่ไม่ขัดสี เพิ่มการออกกำลังกาย และลดน้ำหนัก น่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า
กาแฟกับมะเร็ง
มีการศึกษาเกี่ยวกับการดื่มกาแฟกับโรคมะเร็งชนิดต่างๆ พบว่า
* การดื่มกาแฟเป็นประจำจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับอ่อนได้
* การดื่มกาแฟปริมาณมากขณะตั้งครรภ์ ทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว(ลูคีเมีย)
* การดื่มกาแฟเป็นประจำจะทำให้ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 – 70
* กาแฟช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้
* กาแฟอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
นอกจากนี้กาแฟยังมีผลต่อสุขภาพด้านอื่นๆ อีก เช่น ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน ช่วยระงับอาการซึมเศร้า ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง
โดยพบว่าคาเฟอีนเพียง 32 มิลลิกรัมช่วยกระตุ้นให้มีสมาธิและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดีขึ้นอย่างชัดเจน แต่ผู้หญิงที่ดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 3 – 4 แก้วเป็นประจำ จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน
กาแฟมีมากมายหลายพันธุ์ มีวิธีการผลิตและวิธีการชงที่หลากหลาย จึงทำให้กาแฟมีกลิ่นและรสที่แตกต่างกัน ปริมาณคาเฟอีนในกาแฟแต่ละพันธุ์ก็ไม่เท่ากัน
โดยกาแฟพันธุ์อาราบิก้าซึ่งปลูกมากในบราซิล มีคาเฟอีนประมาณร้อยละ 0.8–1.5 ส่วนพันธุ์โรบัสต้าจากแอฟริกา มีคาเฟอีนประมาณร้อยละ 1.6–2.5 นอกจากนี้วิธีการชงกาแฟที่ต่างกันก็มีผลต่อปริมาณสารประกอบต่างๆ ที่ได้รับจากกาแฟ การชงกาแฟโดยไม่ผ่านการกรองจะทำให้ได้รับสารคาเฟสทอล(cafestol) และคาเวออล(kahweol) ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น และทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลต่างๆ จะเห็นว่า กาแฟมีทั้งประโยชน์และโทษคละกันไป ซึ่งไม่ต่างจากทุกสิ่งในโลกนี้ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นผู้ที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟควรดื่มอย่างพอเพียง คือไม่น้อยเกินไปเพื่อให้ได้รับประโยชน์ทางสุขภาพจากการดื่มกาแฟ และไม่มากเกินไปเพื่อป้องกันโทษจากกาแฟ ขอให้ทุกท่านมีความสุขและสุขภาพดีจากการจิบกาแฟที่หอมกรุ่น
ขอบคุณที่มาของบทความ นิตยสาร WOW FITNESS
อัพเดทความรู้ใหม่ และสลัดความเชื่อเก่าที่ผิดๆ เรื่องกาแฟทิ้ง...เพราะมันให้คุณมากกว่าโทษ ถ้าคุณรู้จักดื่ม และนี่คือ 6 ข้อเท็จจริงที่เราเอามาบอก
1. ไม่จริง...ว่าการดื่มกาแฟทำให้เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิต เป็นหมัน ทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์แท้งได้ ส่งผลให้ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อย เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ ซีสต์ในเต้านม และกระดูกพรุน ถ้าคุณดื่มเพียงวันละ 1-2 ถ้วย
2. ไม่รู้ใช่ไหม... กาแฟช่วยลดความเสี่ยงการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคพาร์คินสัน ลดอันตรายจากตับในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคตับ ลดอาการหอบในผู้ที่มีโรคหอบหืด เพิ่มความจำ และสำหรับนักกีฬาจะช่วยเพิ่มความทนและความอึดในกีฬาที่ต้องใช้เวลานาน
3. ต้องดื่มบ่อยๆ... สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเพราะต้องการแก้ง่วง แนะนำให้ดื่มปริมาณน้อยๆ แต่กระจายการดื่มออกไปตลอดวัน เช่น แทนที่จะดื่มถ้วยใหญ่ 16 ออนซ์ (500 มล.) ในตอนเช้า ให้ดื่มเพียงครั้งละ 2-3 ออนซ์ (60-90 มล.) แต่บ่อยขึ้น กาแฟจะเริ่มออกฤทธิ์ใน 15 นาที และจะอยู่ในร่างกายนานหลายชั่วโมง และต้องใช้เวลาถึง 6 ชั่วโมงกว่าที่จะถูกขจัดออกจากร่างกาย
4. กาแฟดีกว่าไวน์และชาสมุนไพร... เมล็ดกาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาเขียวถึง 4 เท่า และยังมากกว่าโกโก้ ชาสมุนไพร และไวน์แดง ที่มากกว่าเพราะผู้บริโภคดื่มกาแฟมากกว่าเครื่องดื่มอื่นๆ แต่สารต้านอนุมูลอิสระในกาแฟแต่ละถ้วยและแต่ละยี่ห้อนั้นก็ไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของกาแฟ
5. ระวังไว้นิดก็ดี... องค์ประกอบหลักของกาแฟคือ สารกาเฟอีน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นที่มีผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หรือเต้นผิดปกติในบางครั้ง และเพิ่มความดันโลหิต งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยโทรอนโทเปิดเผยว่า การดื่มกาแฟมากอาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันในผู้ที่มียีนขจัดกาเฟอีนช้า ทำให้กาเฟอีนอยู่ในกระแสเลือดนานขึ้น แต่สำหรับคนที่มียีนปกติที่ขจัดกาเฟอีนได้เร็วกาแฟก็จะไม่มีผล
6. ดีแคฟ... ไม่ช่วยอะไร ผู้ที่ดื่มกาแฟสกัดกาเฟอีน อาจคิดว่าปลอดภัย แต่นักวิจัยเตือนว่า กาแฟสกัดกาเฟอีนอาจเพิ่มระดับกรดไขมันในเลือดให้สร้างแอลดีแอล ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลตัวร้ายได้ เพราะในกระบวนการสกัดกาเฟอีนจะสกัดเอาสารเฟลโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารอื่นๆ ที่ให้รสชาติกาแฟแท้ๆ ออกไปด้วย ดังนั้น การดื่มดีแคฟนอกจากจะอร่อยน้อยลงแล้ว ยังมีผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย
อะไรที่มากหรือน้อยเกินพอดีล้วนมีโทษทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ถ้าคุณอยากดื่มกาแฟให้ได้ประโยชน์ก็ต้องเลือกในปริมาณ และรสชาติที่พอดี แล้วจะมีความสุขกับกาแฟแก้วโปรดไปอีกนานๆ
ผลดี
ผลที่มีต่อถุงน้ำดี
จากการที่ทำการวิจัยโดยอาสาสมัครชาย 45,000คน ดื่มกาแฟวันละสองแก้วต่อวัน จะสามารถลดการเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้ถึง 40% และถ้าดื่มวันละ สี่แก้วสามารถลดได้ถึง 45% เลยทีเดียว โดยกาแฟที่ดื่มเข้าไปนั้นจะเข้าไปป้องกันการตกตะกอนของคลอเรสเตอรอล ลดการดูดซึมของเหลวเพิ่ม การไหลของน้ำดีที่กรวยไต ซึ่งทั้งหมดเป็นสาเหตุของการยับยั้งการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
กาแฟกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
จากการศึกษาพบว่าผู้ที่ดิื่มกาแฟวันละสี่แก้ว จะสามารถลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 24% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มกาแฟเลย เพราะกาแฟจะไปกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ผลิตสารที่มีผลยับยั้งการก่อตัวของเนื้อเยื่อที่กลายพันธุ์จากเซลล์ธรรมดากลายไปเป็นเซลล์มะเร็์ง และในกาแฟยังสามารถยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ในลำไส้อันเป็นต้นเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งอีกด้วย
อาการปวดศีรษะ
สารคาเฟอีนมีส่วนสำคัญที่สามรถบรรเทาอาการปวดต่างๆ ได้ แต่สารคาเฟอีนในกาแฟเพียงอย่างเดียวไม่สามารถที่จะยับยั้งอาการปวดหัวได้ แต่ถ้าคุณรับประทานพร้อมกับยาแก้ปวด ก็จะมีผลช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างรวดเร็วขึ้น
ผลเสียเมื่อคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วในกระเพาะอาหารและลำไส้ แล้วกระจายไปตามอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ ไต ตับ ปอด กล้ามเนื้อต่างๆ และระบบประสาทส่วนกลาง ร่างกายต้องใช้เวลากว่า 48 ชั่วโมงในการสลายคาเฟอีนถ้าร่างกายไดรับคาเฟอีนจำนวนสูงประมาณ 3,000-10,000 มิลลิกรัมจะทำให้ตายในระยะเวลาอันสั้นได้
ถ้าเราดื่มกาแฟประมาณ 1/2-2 1/2 ถ้วย จะกระตุ้นประสาทให้ตื่น ลดความเหนื่อยล้าได้ประมาณครึ่งวัน หรือดื่มกาแฟขนาด3-7 ถ้วย ทำให้มือสั่น กระวนกระวาย โกรธง่ายและปวดศีรษะ มีผลต่อหัวใจและเส้นเลือด คือทำให้กล้ามเนื้อของหลอดเลือดคลายตัวหรือบีบรัดมากขึ้น
เป็นบางแห่ง กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ อาจเพิ่มหรือลดอัตราการเต้นของหัวใจ อันตรายแก่ผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจที่ดื่มกาแฟมากๆ จะทำให้ กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นหย่อมๆ
คาเฟอีนยังมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง กรดไขมันอิสระสูง จึงไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือมีไขมันในเลือดสูง ฤทธิ์ของคาเฟอีนเพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะจึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตไม่ทำงาน
จะเห็นได้ว่ากาแฟนั้นมีทั้งผลดีและผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ไม่ได้อยู่ในข่ายต้องห้ามก็อาจดื่มเป็นประจำทุกวันได้ แต่ต้องจำกัดปริมาณ ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
นอกจากชื่อประเทศและถิ่นที่ปลูกจะถูกนำมาเป็นชื่อเรียกกาแฟแล้ว มีสาเหตุอีกหลายประการที่ถูกนำมาใช้ในการตั้งชื่อกาแฟ หรือจำแนกชนิดกาแฟ
1. กาแฟปราศจากคาเฟอีน การสกัดสารคาเฟอีนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้ผลิตนำมาตั้งเป็นยี่ห้อกาแฟ เพื่อตอบสนองลูกค้าที่ชอบดื่มกาแฟ
แต่ต้องการหลีกเลี่ยงสารคาเฟอีน เช่น กาแฟดีคาเฟอีนนาโต อินเทนโซ
2. กาแฟออแกนิค กาแฟที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง ปัจจุบันกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากของตลาดที่ผู้บริโภคมีความห่วงใยในสุขภาพ
และสิ่งแวดล้อม
3. กาแฟที่ปลูกบนเขาสูง เป็นที่ยอมรับกันว่า กาแฟที่ปลูกบนเขาที่มีความสูงมากกว่า 4,000 ฟุตขึ้นไป จะมีรสชาติเฉพาะตัว
และเป็นกาแฟที่มีคุณภาพดี เช่น กาแฟยี่ห้อบลูเมาน์เท็นและ คีรีมานจาโร
4. กาแฟตามชื่อไร่เกิดจากเจ้าของไร่ค้นพบคุณภาพพิเศษของกาแฟที่ผลิตได้ในไร่ของเขาซึ่งอาจจะเกิดขึ้นโดยการคัดเลือกพันธุ์บริเวณเพาะปลูก
การคั่วการผสมกลิ่นระหว่างคั่วซึ่งแต่ละไร่ก็จะเก็บรักษาความลับของตัวเองกาแฟทีมีคุณสมบัติพิเศษนี้จะมีราคาแพงและมีจำหน่ายเฉพาะที่เท่านั้น
กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดกาแฟคั่วซึ่งได้จากต้นกาแฟ นิยมดื่มร้อนๆ แต่สามารถดื่มแบบเย็นได้ด้วย บางครั้งนิยมใส่นมหรือครีมลงในกาแฟด้วย ในกาแฟหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 80-140 มิลลิกรัม กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับชาและน้ำ นอกจากนี้ กาแฟยังเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีการส่งออกมากเป็นอันดับที่หกของโลก กาแฟ
เอสเปรสโซ (Espresso)
ส่วนผสม
1. กาแฟคั่วบดแบบละเอียดที่สุด 6-7 กรัม
2. เวลาที่น้ำร้อนไหลผ่านเครื่อง 8-12 วินาที
3. ปริมาณกาแฟ 1-1.5 ออนซ์
4. ขนาดถ้วย 2-3 ออนซ์
วิธีชง
ใส่กาแฟบดลงไปในภาชนะ และเมื่อกาแฟหลออกมาตามปริมาณที่ต้องการ ให้ยกออกหรือให้เครื่องหยุดทำงานทันที ปริมาณกาแฟที่ได้จะอยู่ที่1/2ถ้วย หรือประมาณ 1-1.5 ออนซ์ ไม่ให้เกินกว่านี้ และมีฟองสีทองประมาณ 1 ช้อนชาลอยอยู่ข้างบน เมื่อชงเสร็จจะต้องเสิร์ฟทันที
กาแฟคาปูชิโน (Cappuccino)
ส่วนผสม
1. กาแฟบดละเอียด
2. นมสด 100%
3. น้ำตาลหรือน้ำเชื่อม
4. ผงช็อกโกแลตหรือผงอบเชย
5. ขนาดถ้วย 4-6 ออนซ์
วิธีชง
ชงกาแฟ 2/3ถ้วย เทนมสดใส่ถ้วยปนะมาณ 3 ออนซ์ นำไปอุ่นให้ร้อนพอสมควรประมาณ 60'c นำเครื่องทำฟองตีนมให้เกิดฟองใช้เวลาประมาณ 8-10 วินาที แลใช้ช้อนตักฟองนมโรยหน้ากาแฟให้ถึงขอบแก้ว และโรยด้วยผงช็อกโกแลตหรือผงอบเชย ยกเสิร์ฟพร้อมน้ำตาล
กาแฟม็อคคา (Coffee Mocha)
ส่วนผสม
1. กาแฟดำร้อน 2/3 ถ้วย
2. นมสดร้อนผสมช็อกโกแลต 1/3 ถ้วย
3. ผงช็อกโกแลตพอประมาณ
4. ช็อกโกแลตไซรป หรือน้ำเชื่อมรสช็อกโกแลต
5. ขนาดถ้วย 4-6 ออนซ์
วิธีชง
ผสมน้ำเชื่อมในกาแฟร้อน อุ่นนมสดให้ร้อนพอประมาณ แล้วใช้เครื่องตีนมให้ขึ้นฟอง เทนมร้อนลงไปในถ้วยกาแฟใช้ช้อนกันไว้อย่าให้ฟองนม ปนลงไปในขณะเท ปิดหน้าด้วยฟองนม และโรยหน้าด้วยผงช็อกโกแลต
กาแฟไอริช (Irish Coffee)
ส่วนผสม
1. ไอริชวิสกี้ 1-2 ออนซ์
2. น้ำตาล 1-2 ช้อนชา
3. เอสเปรสโซ 1.5-2 ออนซ์
4. วิปครีม 0.5 ช้อนโต๊ะ
5. ขนาดถ้วย 4-6 ออนซ์
วิธีชง
อุ่นถ้วยให้ร้อนด้วยน้ำร้อน เอาไอริชวิสกี้และน้ำตาลเทลงไปในถ้วย เทกาแฟเอสเปรสโซลงไป และคนให้น้ำตาลละลายเข้ากัน ตักครีมโรยหน้ายกเสิร์ฟ
กาแฟโบราณ
ส่วนผสม
1. กาแฟชนิดกากพอประมาณ
2. นมข้น 2 ช้อนโต๊ะ
3. นมสดจืด 2 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำครึ่งแก้ว
คาเฟ่ ลาตเต้
ส่วนผสม:
- กาแฟเอสเพรสโซ
- นมร้อน
- ฟองนมพอประมาณ
วิธีทำ:
ใช้กาแฟเอสเพรสโซเป็นฐาน กาแฟจะเจือจางด้วยนมร้อน จากนั้นโรยหน้าด้วยฟองนม นำกาแฟชนิดกาก ใส่น้ำร้อนกรองเอาแต่น้ำ เทนมข้นและนมสดใส่น้ำครึ่งแก้ว
แหล่งอ้างอิง: www.geocities.com/kimsong26/index7
สูตรการชงกาแฟต่างๆ และเรื่องราวของกาแฟแต่ละแก้ว
Macchiato สื่อถึงความหมายที่บอกถึงบางสิ่ง “มีจุด” ที่อยู่ใน Espresso ที่เป็นจุดที่จากฟองนมนั่นเอง ตั้งแต่แรกเห็น Macchiato จะมีลักษณะที่คล้ายกับ Cappuccino แก้วเล็ก แม้ว่าส่วนผสมที่ใช้ในการทำจะเหมือนกัน แต่สำหรับ Macchiato จะมีกลิ่นและรสชาติที่เข้มข้นมากกว่า
ส่วนผสมในการทำ Macchiato
นม เศษหนึ่งส่วนสิบลิตร
เมล็ดกาแฟ
น้ำตาล และ/หรือ ผงโก้โก้ (ขึ้นอยู่กับรสชาติที่คุณต้องการ)
การทำ Espresso (ปริมาตรประมาณ 70 มิลลิลิตร)
การเตรียม
ใส่ฟองนมลงในถ้วยกาแฟ espresso
วางแก้วกาแฟใต้ท่อจ่ายกาแฟ และกดปุ่มเลือก espresso
โปรยด้วยผงโก้โก้ เพื่อการตกแต่งที่สวยงาม
Caffè Latte เป็นกาแฟที่แตกต่างออกไปด้วยวิธีการเติมนม และ Caffè Latte ที่ดีคือ espresso หลังจากนั้นใส่นมร้อนบน espresso และผลลัพธ์ที่ได้คือฟองนมอันน้อยนิดที่ทำให้ Caffè Latte เป็นกาแฟที่น่าชวนมองอย่างยิ่ง Caffè Latte จะถูกเสิร์ฟด้วยการใช้แก้วที่มีขนาดใหญ่กว่าแก้วที่ใช้ในการทำ Cappuccino
ส่วนผสมในการทำ Caffè Latte
นม (ประมาณ เศษ1.5 ส่วนสิบ)
เมล็ดกาแฟ
น้ำตาล (เพื่อเพิ่มรสชาติ)
แก้วกาแฟ (ปริมาตรประมาณ 160 มิลลิลิตร)
การเตรียม
ใช้นมที่ให้ความร้อน ¾ แก้ว (ไม่เหมือนกับการทำครีมฟอง เพราะนมจะถูกผสมด้วยการใช้อากาศให้น้อยที่สุด)
วางแก้วกาแฟใต้ช่องปล่อยกาแฟ และกดปุ่มเลือกการทำ espresso
Cappuccino
ต้นตำรับการทำกาแฟสไตล์อิตาเลียน ประกอบด้วย Espresso ปริมาณ 1/3 นมร้อน และครีมนมที่ทำให้กาแฟดูน่าดื่มมากขึ้น และแต่งแต้มด้วยการเติมผลโก้โก้อีกนิดหน่อย
ส่วนผสมในการทำ Cappuccino
นม เศษหนึ่งส่วนสิบลิตร
เมล็ดกาแฟ
ผงโก้โก้
น้ำตาล (เพื่อเพิ่มรสชาติ)
ถ้วยกาแฟสำหรับ Cappuccino (ปริมาตรโดยประมาณ 140 มิลลิลิตร)
การเตรียม
การให้ความร้อนแก่ฟองนมหรือนม เพื่อเริ่มให้อากาศได้เข้าไปในนมได้เพียงนิดหน่อย เป็นเพียงการทำให้นมมีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ถ้าคุณต้องการฟองครีมมากขึ้น คุณอาจจะทิ้งไว้นานขึ้นก็ได้
วางแก้วกาแฟใต้ท่อจ่ายกาแฟ และกดปุ่มสั่งให้มีการจ่ายกาแฟ espresso
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต google