รายละเอียด
- เวียดนามส่งออกกาแฟมากเป็นอันดับสองรองจากบราซิล กาแฟยังเป็นผลผลิตส่งออกมากเป็นอันดับสองของประเทศ รองจากข้าว โดยเฉพาะกาแฟโรบัสตา ถือเป็นตัวชูหน้าชูตาของประเทศนี้
ผลผลิตกาแฟของเวียดนาม เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ปี 2518 เพิ่มจาก 6,000 ตัน เป็นกว่า 700,000 ตัน พื้นที่ปลูกก็เพิ่มจาก 13,000 เป็น 500,000 เฮกตาร์ (79,000-3,050,000 ไร่)
ในปัจจุบัน แหล่งปลูกกาแฟที่สำคัญของประเทศคือบริเวณที่ราบสูงตอนกลาง (Central Highlands) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคเหนือของเวียดนาม เพราะมีสภาพอากาศและภูมิประเทศที่เหมาะมากที่สุด
กาแฟของเวียดนาม กำลังขยายที่ทางบนตลาดกาแฟโลกมากขึ้นเรื่อยๆ
ปริมาณการส่งออกกาแฟโลก ในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ขยับขึ้น 8.6% เป็น 7.02 ล้านถุง ก็เพราะมีเวียดนามเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ขณะที่ราชากาแฟอย่างบราซิล การส่งออกกาแฟกลับลดลง และมีแนวโน้มอาจจะลงมากถึง 20% เพราะสภาพดินฟ้าอากาศ
กระทรวงการค้าของเวียดนามเปิดเผยว่าการส่งออกกาแฟปีนี้ ว่า มีแนวโน้มว่าจะถึง 900,000 ตัน เกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ 100,000 ตัน เพราะในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาขายไปแล้วกว่า 800,000 ตัน ทำรายได้เข้าประเทศไปกว่า 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือสูงขึ้น 44% จากปีก่อน
ตัวเลขดังกล่าว นับว่าทำลายสถิติการส่งออกกาแฟของเวียดนาม ในรอบ 30 ปี
แม้ปริมาณการส่งออกกาแฟของเวียดนามจะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่คอกาแฟทั้งหลายให้ความเห็นว่า ยังไม่อาจแซงหน้าบราซิลได้
นั่นเพราะคุณภาพกาแฟของเวียดนามยังไม่ดีเท่าที่ควร รสชาติของกาแฟก็ไม่ถูกใจบรรดาคอกาแฟตัวยงทั่วโลก ยังไม่นับเรื่องแผนการตลาด และช่องทางการจำหน่าย
สมาคมผู้ผลิตกาแฟและโกโก้ของเวียดนาม หรือ Vicofa ยอมรับจุดอ่อนข้อนี้ และกำลังใช้วิธีการต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสินค้า และเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน
กาแฟที่เวียดนามส่งไปยังต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นเมล็ดกาแฟดิบ ยังไม่ผ่านการแปรรูป ส่วนกาแฟที่แปรรูปนั้น เวียดนามยังไม่มีศักยภาพในการแข่งขันเท่าที่ควร เพราะต้นทุนในการโฆษณาและทำการตลาดค่อนข้างสูงในต่างประเทศ อีกทั้งการเจาะตลาดก็ยาก
ลำบาก เนื่องจากมีกำแพงภาษีที่หลายประเทศใช้ปกป้องสินค้าท้องถิ่น
การผลิตกาแฟสำเร็จรูป ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก มีเทคโนโลยีทันสมัย และมาตรฐานด้านคุณภาพที่ต่างประเทศต้องการก็ค่อนข้างสูงและเข้มงวด
ปัจจุบัน เวียดนามจึงมีผู้ผลิตกาแฟสำเร็จรูปเพียง 2 รายเท่านั้น ซึ่งมีวิธีการผลิตกาแฟสำเร็จรูปได้ตรงตามมาตรฐานระหว่างประเทศ 2 รายที่ว่านี้ ได้แก่ บริษัทโรงงานกาแฟเบียนหว่า (Bien Hoa Coffee Factory) ซึ่งผลิตทั้งกาแฟสำเร็จรูปกับกาแฟคั่ว
นอกจากนั้นก็มีบริษัทเนสเล่ (Nestle) แต่สินค้าของ Nestle ก็ขายเฉพาะในเวียดนามเท่านั้น ผู้ผลิตกาแฟรายอื่นๆ ผลิตได้เฉพาะกาแฟคั่ว ส่งขายทั้งในและนอกประเทศ
การที่คุณภาพกาแฟของเวียดนามไม่ได้มาตรฐาน เนื่องมาจากวิธีการแปรรูปเมล็ดกาแฟในโรงงานที่ยังล้าสมัย ไม่ได้รับการปรับปรุง เพื่อยกระดับคุณภาพของสินค้า
Vicofa บอกว่า การจะทำให้กาแฟเวียดนามได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ ผู้ผลิตกาแฟในประเทศจะต้องเพิ่มคุณภาพสินค้าให้ได้ตามที่ประเทศผู้นำเข้าต้องการ ผู้ผลิตกาแฟควรปฏิบัติตามมาตรฐานการคัดเลือดกาแฟ การเพาะปลูก การดูแล ความสะอาด การเก็บเกี่ยว การตากแห้ง และการเก็บรักษา
ในด้านการตลาด เป็นหน้าที่ของภาครัฐและเอกชนที่จะต้องหาช่องทางการจำหน่ายในต่างประเทศ
กระทรวงการค้าเวียดนามกำลังวางแผนเร่งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ความรู้เกษตรกรผู้ผลิตกาแฟ และหาทางช่วยผู้ส่งออกกาแฟให้ขยายช่องทางตลาดได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็หาทางเจรจาการค้ากับต่างประเทศ
สำหรับภาคเอกชนนั้น เกษตรกรและผู้ส่งออกจะต้องจับมือกัน เปิดตัวเองเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายในต่างประเทศ
เกษตรกรจะต้องได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากรัฐ เพื่อนำไปใช้ในการขยายและปรับปรุงวิธีการปลูกกาแฟ นอกจากนี้ควรได้รับการละเว้นภาษี หากการเก็บเกี่ยวพืชผลตกต่ำ หรือเกิดวิกฤติด้านราคา
หีบห่อกาแฟก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งปัจจุบัน มีกาแฟเวียดนามจำนวนหนึ่งที่วางขายในตลาดต่างประเทศ ด้วยหีบห่อแบบเดิมๆ ทำให้ผู้บริโภคกาแฟต่างประเทศเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณภาพกาแฟเวียดนาม
ปัจจุบันมีผู้บริโภคกาแฟเวียดนามเกือบ 60 ประเทศทั่วโลก มีเยอรมนี และสหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่ที่สุด
และที่หมายของการขยายตลาดส่งออกกาแฟเวียดนามคือ ประเทศเพื่อนบ้านเอเชีย และยุโรปตะวันออก ซึ่งปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี.
แหล่งที่มา : manager.co.th
- เวียดนามส่งออกกาแฟมากเป็นอันดับสองรองจากบราซิล กาแฟยังเป็นผลผลิตส่งออกมากเป็นอันดับสองของประเทศ รองจากข้าว โดยเฉพาะกาแฟโรบัสตา ถือเป็นตัวชูหน้าชูตาของประเทศนี้
ผลผลิตกาแฟของเวียดนาม เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ปี 2518 เพิ่มจาก 6,000 ตัน เป็นกว่า 700,000 ตัน พื้นที่ปลูกก็เพิ่มจาก 13,000 เป็น 500,000 เฮกตาร์ (79,000-3,050,000 ไร่)
ในปัจจุบัน แหล่งปลูกกาแฟที่สำคัญของประเทศคือบริเวณที่ราบสูงตอนกลาง (Central Highlands) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคเหนือของเวียดนาม เพราะมีสภาพอากาศและภูมิประเทศที่เหมาะมากที่สุด
กาแฟของเวียดนาม กำลังขยายที่ทางบนตลาดกาแฟโลกมากขึ้นเรื่อยๆ
ปริมาณการส่งออกกาแฟโลก ในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ขยับขึ้น 8.6% เป็น 7.02 ล้านถุง ก็เพราะมีเวียดนามเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ขณะที่ราชากาแฟอย่างบราซิล การส่งออกกาแฟกลับลดลง และมีแนวโน้มอาจจะลงมากถึง 20% เพราะสภาพดินฟ้าอากาศ
กระทรวงการค้าของเวียดนามเปิดเผยว่าการส่งออกกาแฟปีนี้ ว่า มีแนวโน้มว่าจะถึง 900,000 ตัน เกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ 100,000 ตัน เพราะในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาขายไปแล้วกว่า 800,000 ตัน ทำรายได้เข้าประเทศไปกว่า 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือสูงขึ้น 44% จากปีก่อน
ตัวเลขดังกล่าว นับว่าทำลายสถิติการส่งออกกาแฟของเวียดนาม ในรอบ 30 ปี
แม้ปริมาณการส่งออกกาแฟของเวียดนามจะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่คอกาแฟทั้งหลายให้ความเห็นว่า ยังไม่อาจแซงหน้าบราซิลได้
นั่นเพราะคุณภาพกาแฟของเวียดนามยังไม่ดีเท่าที่ควร รสชาติของกาแฟก็ไม่ถูกใจบรรดาคอกาแฟตัวยงทั่วโลก ยังไม่นับเรื่องแผนการตลาด และช่องทางการจำหน่าย
สมาคมผู้ผลิตกาแฟและโกโก้ของเวียดนาม หรือ Vicofa ยอมรับจุดอ่อนข้อนี้ และกำลังใช้วิธีการต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสินค้า และเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน
กาแฟที่เวียดนามส่งไปยังต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นเมล็ดกาแฟดิบ ยังไม่ผ่านการแปรรูป ส่วนกาแฟที่แปรรูปนั้น เวียดนามยังไม่มีศักยภาพในการแข่งขันเท่าที่ควร เพราะต้นทุนในการโฆษณาและทำการตลาดค่อนข้างสูงในต่างประเทศ อีกทั้งการเจาะตลาดก็ยาก
ลำบาก เนื่องจากมีกำแพงภาษีที่หลายประเทศใช้ปกป้องสินค้าท้องถิ่น
การผลิตกาแฟสำเร็จรูป ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก มีเทคโนโลยีทันสมัย และมาตรฐานด้านคุณภาพที่ต่างประเทศต้องการก็ค่อนข้างสูงและเข้มงวด
ปัจจุบัน เวียดนามจึงมีผู้ผลิตกาแฟสำเร็จรูปเพียง 2 รายเท่านั้น ซึ่งมีวิธีการผลิตกาแฟสำเร็จรูปได้ตรงตามมาตรฐานระหว่างประเทศ 2 รายที่ว่านี้ ได้แก่ บริษัทโรงงานกาแฟเบียนหว่า (Bien Hoa Coffee Factory) ซึ่งผลิตทั้งกาแฟสำเร็จรูปกับกาแฟคั่ว
นอกจากนั้นก็มีบริษัทเนสเล่ (Nestle) แต่สินค้าของ Nestle ก็ขายเฉพาะในเวียดนามเท่านั้น ผู้ผลิตกาแฟรายอื่นๆ ผลิตได้เฉพาะกาแฟคั่ว ส่งขายทั้งในและนอกประเทศ
การที่คุณภาพกาแฟของเวียดนามไม่ได้มาตรฐาน เนื่องมาจากวิธีการแปรรูปเมล็ดกาแฟในโรงงานที่ยังล้าสมัย ไม่ได้รับการปรับปรุง เพื่อยกระดับคุณภาพของสินค้า
Vicofa บอกว่า การจะทำให้กาแฟเวียดนามได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ ผู้ผลิตกาแฟในประเทศจะต้องเพิ่มคุณภาพสินค้าให้ได้ตามที่ประเทศผู้นำเข้าต้องการ ผู้ผลิตกาแฟควรปฏิบัติตามมาตรฐานการคัดเลือดกาแฟ การเพาะปลูก การดูแล ความสะอาด การเก็บเกี่ยว การตากแห้ง และการเก็บรักษา
ในด้านการตลาด เป็นหน้าที่ของภาครัฐและเอกชนที่จะต้องหาช่องทางการจำหน่ายในต่างประเทศ
กระทรวงการค้าเวียดนามกำลังวางแผนเร่งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ความรู้เกษตรกรผู้ผลิตกาแฟ และหาทางช่วยผู้ส่งออกกาแฟให้ขยายช่องทางตลาดได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็หาทางเจรจาการค้ากับต่างประเทศ
สำหรับภาคเอกชนนั้น เกษตรกรและผู้ส่งออกจะต้องจับมือกัน เปิดตัวเองเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายในต่างประเทศ
เกษตรกรจะต้องได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากรัฐ เพื่อนำไปใช้ในการขยายและปรับปรุงวิธีการปลูกกาแฟ นอกจากนี้ควรได้รับการละเว้นภาษี หากการเก็บเกี่ยวพืชผลตกต่ำ หรือเกิดวิกฤติด้านราคา
หีบห่อกาแฟก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งปัจจุบัน มีกาแฟเวียดนามจำนวนหนึ่งที่วางขายในตลาดต่างประเทศ ด้วยหีบห่อแบบเดิมๆ ทำให้ผู้บริโภคกาแฟต่างประเทศเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณภาพกาแฟเวียดนาม
ปัจจุบันมีผู้บริโภคกาแฟเวียดนามเกือบ 60 ประเทศทั่วโลก มีเยอรมนี และสหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่ที่สุด
และที่หมายของการขยายตลาดส่งออกกาแฟเวียดนามคือ ประเทศเพื่อนบ้านเอเชีย และยุโรปตะวันออก ซึ่งปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี.
แหล่งที่มา : manager.co.th
ใช่เลยครับ
เวียดนามส่งออกกาแฟของเค้า
ได้เป็นอันดับ 3 ของโลกเลยนะครับ
แค่นี้ก็น่าจะพอบอกถึงคุณภาพได้แล้วว่ากาแฟเค้าไม่ธรรมดาจริงๆ
กาแฟเวียดนาม อร่อยที่สุดเลย