ถ้าจะกล่าวถึงตำนานเรื่องกาแฟมีอยู่มากมาย แม้กระทั่งในพระคัมภีร์ฉบับเก่า (Old Testament) มีกล่าวถึงเมล็ดกาแฟในตะวันออกกลาง ตำนานเรื่องคนเลี้ยงแพะ ชื่อกาลดี้ (Kaldi) พบว่า แพะมีอาการตื่นเต้นผิดปกติ จึงได้ตามฝูงแพะขึ้นไปบนภูเขา เขาเห็นแพะตัวผู้กำลังแทะเมล็ดกาแฟสีแดงจากกิ่งกาแฟอยู่ จากนั้นฝูงแพะก็พากันกระโดดโลดเต้น เขาจึงลองเก็บเมล็ดกาแฟสุกมากินดู ปรากฏว่ามีรสชาติเย็น ทำให้สดชื่น ตั้งแต่นั้นมา เมื่อฝูงแพะไปกินเมล็ดกาแฟ เขาก็ไปกินด้วย เมื่อกินเสร็จแล้วเขาก็กระโดดโลดเต้นอยู่กับฝูงแพะนั้น จนกระทั่งวันหนึ่ง โต๊ะอิหม่าม (Imam) เห็นทั้งคนและแพะกระโดดโลดเต้นอยู่ จึงเข้าไปถามกาลดี้ เมื่อทราบเรื่องจึงเดินทางไปยังภูเขานั้นและเก็บผลกาแฟมากิน ทำให้ไม่ง่วง โต๊ะอิหม่ามถือว่าการสวดมนต์อ้อนวอนพระอัลเลาะห์ดีกว่านอนหลับ ดังนั้น การดื่มกาแฟจึงแพร่หลายอยู่ในหมู่โต๊ะอิหม่ามอยู่เป็นเวลานาน กาแฟจึงได้ชื่อว่า คาห์วาห์ (Qahwah) หมายถึง การกระตุ้น ทำให้สดชื่น คำว่า คาห์วาห์ แปลว่า ไวน์ แต่เครื่องดื่มไวน์เป็นของต้องห้ามในศาสนา กาแฟจึงได้ชื่อว่า ไวน์แห่งอาหรับ (Wine of Araby) ต่อมามีเรื่องราวอีกมากมายเรื่องกาแฟกับพระในศาสนาอิสลาม
การแพร่กระจายของกาแฟจากเอธิโอเปีย มาสู่ตะวันออกกลาง มีหลายทาง ชีค (Sheikh) ได้รายงานในปี พ.ศ.2109 โดยให้เครดินกับดมาเลดดินอาบูเอลฟลาเกอร์ (Djmaled dinabou Elflager) นำกาแฟมาจากอบิสซีเนีย มาปลูกไว้ในอะราเบีย (Arabia) ในต้นศตวรรษที่ 15
ชาวดัทช์เป็นพวกแรกที่นำกาแฟอะราเบีย (ที่มาของกาแฟพันธุ์อราบิก้า) ไปปลูกในแหล่งอื่นๆ ของโลก ในปี พ.ศ. 2159 ได้นำกาแฟจากเมืองโมคา (Mocha) ไปปลูกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2201 ชาวดัทช์ได้ทำสวนกาแฟขึ้นที่อาณานิคมเกาะศรีลังกา ในปี พ.ศ. 2233 ข้าหลวงใหญ่ของดัทช์อิสต์ ชื่อ นิโคลาส วิทเซน (Nicholas Witsen) ได้แนะนำให้ข้าหลวงใหญ่แห่งปัตตาเวีย นำเมล็ดกาแฟมาปลูกที่ปัตตาเวีย อินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2241 เจ้าเมืองแห่งอัมสเตอร์ดัม (Burgomaster of Amsterdam) ได้ส่งต้นกาแฟมาจากเมืองมาลาบาร์ (Malabar) ไปปลูกที่ฝั่งตะวันตกของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต้นกาแฟเหล่านี้ คือ กาแฟอราบิก้าที่ได้นำเมล็ดมาจากอาหรับปลูกไว้ที่สวนกาแฟเคดาเวียง (Kedawoeng Estate) ทั้งหมด ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวและน้ำท่วมต้นกาแฟที่นำมาปลูกตายหมด ชวาดรุณ (Zwaardkron) ได้ถูกส่งไปยังลาบาร์ ในปี พ.ศ. 2242 เพื่อนำเมล็ดกาแฟมาปลูกที่ปัตตาเวียอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาได้ขยายไปทั่วอินโดนีเซีย เช่น สุมาตรา ชุลลาเวสี (ซีลีเบสเดิม) บาหลี ติมอร์ และเกาะอื่นๆ กาแฟอราบิก้าพันธุ์นี้ภายหลังได้ชื่อว่า กาแฟอราบิก้าพันธุ์ ทิปิก้า (Coffee Arabica var. Typica)
ในปี พ.ศ. 2251 เรือฝรั่งเศส 2 ลำ ได้ถูกส่งไปยังเมืองโมคา เพื่อซื้อกล้าพันธุ์กาแฟและเมล็ดกาแฟจากชีคชาวอาหรับไปปลูกที่เมืองเบอร์บอน (Bourbon) ในเกาะรียูเนียน (Reunion) ของฝรั่งเศส แต่ต้นกาแฟตายหมด ในปี พ.ศ.2258 ก็ได้ส่งเรือไปซื้อเมล็ดกาแฟไปปลูกที่เกาะรียูเนียนอีก แต่การปลูกกาแฟที่เกาะรียูเนียนประสบความล้มเหลวคงเหลือกาแฟที่มีชีวิตรอดอยู่เพียง 2 ต้นเท่านั้น ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2261 ได้นำเมล็ดกาแฟจากเมืองโมคาไปปลูกไว้ที่เกาะรียูเนียนอีกครั้ง คราวนี้ประสบผลสำเร็จอย่างดี ต่อมาจึงขยายเป็นสวนกาแฟที่กว้างใหญ่ปลูกกันแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันในนาม กาแฟอราบิก้าพันธุ์เบอร์บอน (Coffee Arabica var. Bourbon)
กาแฟในประเทศอินเดีย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2143-2238 นักแสวงบุญชาวมุสลิม ชื่อ บาบา บูดาน (Baba Budan) เดินทางไปทำฮัจจีที่เมืองเม็กกะ ขากลับได้นำเมล็ดกาแฟจากเม็กกะมาปลูกไว้ที่เชิงเขาใกล้บ้านที่เมืองชิคมากาลอร์ (Chikmagalur) ในรัฐไมซอร์ (Mysor) ต่อมาได้ขยายพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวาง ระยะหลังเมื่ออังกฤษเข้าครอบครองประเทศอินเดีย ชาวอังกฤษได้ทำสวนกาแฟใหญ่โตขึ้นที่เมืองชิคมากาลอร์และเมืองคุก (Coorg) สวนกาแฟได้กระจายไปยังแถบภูเขานิลคีรีของรัฐทมิฬนาดู ซึ่งต่อมา กาแฟอราบิก้าพันธุ์นี้จึงมีชื่อว่า คุก (Coorg)
ประเทศแรกในอาณานิคมของฝรั่งเศสที่ปลูกกาแฟ คือ มาร์ตินิค (Martinique) และเมล็ดกาแฟจากมาร์ตินิคเป็นศูนย์กลางที่นำไปปลูกเผยแพร่แก่แหล่งปลูกกาแฟต่างๆ เกือบทั่วโลก เช่น นำไปปลูกที่ภูเขา บลู เมาเทน (Blue Mountain) เกาะจาไมก้า ซึ่งเป็นภูเขาสูง อากาศหนาวเย็น ทำให้กาแฟที่ปลูกมีรสชาติดีเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก จึงได้ชื่อตามสถานที่ปลูกว่า “บลูเมาเทน เคเมอร์” (Blue Mountain Cramer) เมื่อนำไปปลูกขยายพันธุ์ที่เมืองเบเร็มและพาราของบราซิล อีก 100 ปีต่อมา บราซิลกลายเป็นประเทศที่ปลูกกาแฟมากที่สุดในโลกและสามารถควบคุมตลาดของกาแฟไว้อย่างสมบูรณ์ ต่อมากาแฟอราบิก้าพันธุ์นี้ได้แพร่ขยายเข้าสู่ประเทศในแถบอเมริกากลางตลอดจนถึงอเมริกาใต้ชั่วเวลาไม่ถึงศตวรรษ และถูกเรียกว่า Franch Mission
การแพร่กระจายของกาแฟจากเอธิโอเปีย มาสู่ตะวันออกกลาง มีหลายทาง ชีค (Sheikh) ได้รายงานในปี พ.ศ.2109 โดยให้เครดินกับดมาเลดดินอาบูเอลฟลาเกอร์ (Djmaled dinabou Elflager) นำกาแฟมาจากอบิสซีเนีย มาปลูกไว้ในอะราเบีย (Arabia) ในต้นศตวรรษที่ 15
ชาวดัทช์เป็นพวกแรกที่นำกาแฟอะราเบีย (ที่มาของกาแฟพันธุ์อราบิก้า) ไปปลูกในแหล่งอื่นๆ ของโลก ในปี พ.ศ. 2159 ได้นำกาแฟจากเมืองโมคา (Mocha) ไปปลูกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2201 ชาวดัทช์ได้ทำสวนกาแฟขึ้นที่อาณานิคมเกาะศรีลังกา ในปี พ.ศ. 2233 ข้าหลวงใหญ่ของดัทช์อิสต์ ชื่อ นิโคลาส วิทเซน (Nicholas Witsen) ได้แนะนำให้ข้าหลวงใหญ่แห่งปัตตาเวีย นำเมล็ดกาแฟมาปลูกที่ปัตตาเวีย อินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2241 เจ้าเมืองแห่งอัมสเตอร์ดัม (Burgomaster of Amsterdam) ได้ส่งต้นกาแฟมาจากเมืองมาลาบาร์ (Malabar) ไปปลูกที่ฝั่งตะวันตกของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต้นกาแฟเหล่านี้ คือ กาแฟอราบิก้าที่ได้นำเมล็ดมาจากอาหรับปลูกไว้ที่สวนกาแฟเคดาเวียง (Kedawoeng Estate) ทั้งหมด ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวและน้ำท่วมต้นกาแฟที่นำมาปลูกตายหมด ชวาดรุณ (Zwaardkron) ได้ถูกส่งไปยังลาบาร์ ในปี พ.ศ. 2242 เพื่อนำเมล็ดกาแฟมาปลูกที่ปัตตาเวียอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาได้ขยายไปทั่วอินโดนีเซีย เช่น สุมาตรา ชุลลาเวสี (ซีลีเบสเดิม) บาหลี ติมอร์ และเกาะอื่นๆ กาแฟอราบิก้าพันธุ์นี้ภายหลังได้ชื่อว่า กาแฟอราบิก้าพันธุ์ ทิปิก้า (Coffee Arabica var. Typica)
ในปี พ.ศ. 2251 เรือฝรั่งเศส 2 ลำ ได้ถูกส่งไปยังเมืองโมคา เพื่อซื้อกล้าพันธุ์กาแฟและเมล็ดกาแฟจากชีคชาวอาหรับไปปลูกที่เมืองเบอร์บอน (Bourbon) ในเกาะรียูเนียน (Reunion) ของฝรั่งเศส แต่ต้นกาแฟตายหมด ในปี พ.ศ.2258 ก็ได้ส่งเรือไปซื้อเมล็ดกาแฟไปปลูกที่เกาะรียูเนียนอีก แต่การปลูกกาแฟที่เกาะรียูเนียนประสบความล้มเหลวคงเหลือกาแฟที่มีชีวิตรอดอยู่เพียง 2 ต้นเท่านั้น ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2261 ได้นำเมล็ดกาแฟจากเมืองโมคาไปปลูกไว้ที่เกาะรียูเนียนอีกครั้ง คราวนี้ประสบผลสำเร็จอย่างดี ต่อมาจึงขยายเป็นสวนกาแฟที่กว้างใหญ่ปลูกกันแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันในนาม กาแฟอราบิก้าพันธุ์เบอร์บอน (Coffee Arabica var. Bourbon)
กาแฟในประเทศอินเดีย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2143-2238 นักแสวงบุญชาวมุสลิม ชื่อ บาบา บูดาน (Baba Budan) เดินทางไปทำฮัจจีที่เมืองเม็กกะ ขากลับได้นำเมล็ดกาแฟจากเม็กกะมาปลูกไว้ที่เชิงเขาใกล้บ้านที่เมืองชิคมากาลอร์ (Chikmagalur) ในรัฐไมซอร์ (Mysor) ต่อมาได้ขยายพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวาง ระยะหลังเมื่ออังกฤษเข้าครอบครองประเทศอินเดีย ชาวอังกฤษได้ทำสวนกาแฟใหญ่โตขึ้นที่เมืองชิคมากาลอร์และเมืองคุก (Coorg) สวนกาแฟได้กระจายไปยังแถบภูเขานิลคีรีของรัฐทมิฬนาดู ซึ่งต่อมา กาแฟอราบิก้าพันธุ์นี้จึงมีชื่อว่า คุก (Coorg)
ประเทศแรกในอาณานิคมของฝรั่งเศสที่ปลูกกาแฟ คือ มาร์ตินิค (Martinique) และเมล็ดกาแฟจากมาร์ตินิคเป็นศูนย์กลางที่นำไปปลูกเผยแพร่แก่แหล่งปลูกกาแฟต่างๆ เกือบทั่วโลก เช่น นำไปปลูกที่ภูเขา บลู เมาเทน (Blue Mountain) เกาะจาไมก้า ซึ่งเป็นภูเขาสูง อากาศหนาวเย็น ทำให้กาแฟที่ปลูกมีรสชาติดีเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก จึงได้ชื่อตามสถานที่ปลูกว่า “บลูเมาเทน เคเมอร์” (Blue Mountain Cramer) เมื่อนำไปปลูกขยายพันธุ์ที่เมืองเบเร็มและพาราของบราซิล อีก 100 ปีต่อมา บราซิลกลายเป็นประเทศที่ปลูกกาแฟมากที่สุดในโลกและสามารถควบคุมตลาดของกาแฟไว้อย่างสมบูรณ์ ต่อมากาแฟอราบิก้าพันธุ์นี้ได้แพร่ขยายเข้าสู่ประเทศในแถบอเมริกากลางตลอดจนถึงอเมริกาใต้ชั่วเวลาไม่ถึงศตวรรษ และถูกเรียกว่า Franch Mission
ขอบคุณที่มาของบทความ http://www.purichawon.com/_HistofCofeT/index.asp
แสดงความคิดเห็น